Welcome ^_^
sample

โครงการดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง แบบองค์รวม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วยผักเน่า อำเภอภูเรือ  จังหวัดเลย

  • หลักการและเหตุผล
    ในปัจจุบันโรคเบาหวานเป็นโรคไม่ติดต่อที่กำลังเป็นปัญหาทางด้านสุขภาพที่จำเป็นที่ต้องได้รับการแก้ไข  เนื่องจากเป็นโรคเรื้อรังที่เสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลสูง  ถ้าเป็นในระยะเวลานาน และไม่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพไม่มีการเฝ้าระวังที่ดีจะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน  เช่น  ไตวาย  ต้อกระจก  แผลเรื้อรัง  บางรายรุนแรงถึงขั้นต้องตัดอวัยวะส่วนปลายบางส่วน ซึ่งเป็นภาระของญาติ และครอบครัว และรัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น ในการดูแล
    จากข้อมูลผู้ป่วยในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วยผักเน่า ตำบลลาดค่าง พบว่ามีผู้ป่วยโรคเรื้อรังจำนวน ๗๖ ราย  ได้แก่  ผู้ป่วยเบาหวาน ๓๘  ราย  ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ๕๐ ราย  จากการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยพบว่าผู้ป่วยยังปฏิบัติตัวไม่ถูกต้อง และรับประทานยาไม่ต่อเนื่อง จึงส่งผลให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้น  และส่งผลต่อเนื่องให้มีโรคแทรกซ้อนเกิดขึ้นตามมา จึงเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขอย่างมาก
    ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วยผักเน่า ตำบลลาดค่าง อำเภอภูเรือ  จังหวัดเลย  จึงจัดทำโครงการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังแบบองค์รวมขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วย มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ในการปฏิบัติตัว การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมรับประทานยา และพบแพทย์อย่างต่อเนื่อง

    วัตถุประสงค์
    ๑. เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตนในการดูแลตนเองอย่างถูกต้อง ไม่มีภาวะแทรกซ้อนสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างปกติสุข
    ๒. เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมควบคุมภาวะน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน
    ๓. เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมควบคุมระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
    ๔. เพื่อลดความรุนแรงของโรคและป้องกันมิให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วย

    กลุ่มเป้าหมาย
    ผู้ป่วยโรคเรื้อรังในเขตรับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วยผักเน่า  ตำบลลาดค่าง   จำนวน    ๗๖   คน

    ระยะเวลาการดำเนินงาน
    พฤษภาคม ๒๕๕๔   -    ธันวาคม  ๒๕๕๔

    สถานที่ดำเนินการ
    โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วยผักเน่า  ตำบลลาดค่าง   อำเภอภูเรือ   จังหวัดเลย

    สรุปผลการดำเนินโครงการ
                               ๑. ผู้ป่วยเรื้อรังสามารถปฏิบัติตนในการดูแลตนเองอย่างถูกต้อง  ซึ่งวัดได้จากแบบบันทึกประจำวัน
    ๒. ร้อยละ  ๙๑  ของผู้ป่วยเรื้อรังมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมควบคุมภาวะน้ำตาลในเลือดได้
    ๓. ร้อยละ  ๙๕  ของผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีความพึ่งพอใจในกิจกรรมต่างๆ ในระดับดีมาก ซึ่งวัดได้จากแบบประเมินความพึ่งพอใจ

    ภาพกิจกรรม

    ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่สาธารณสุข   อสม.  ผู้นำชุมชน  เพื่อสร้างความเข้าใจที่ตรงกันและร่วมหาแนวทางในการดำเนินงาน

    ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่สาธารณสุข   อสม.  ผู้นำชุมชน  เพื่อสร้างความเข้าใจที่ตรงกันและร่วมหาแนวทางในการดำเนินงาน
  • กิจกรรมออกกำลังกาย

    กิจกรรมนวดเท้า

    ติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคเรื้อรัง