Welcome ^_^
sample

โครงการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งปากมดลูก ปีงบประมาณ  ๒๕๕๔
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วยผักเน่า อำเภอภูเรือ  จังหวัดเลย

 


หลักการและเหตุผล

             จากสถานการณ์ปัจจุบัน โรคมะเร็งปากมดลูกเป็นปัญหาทางสาธารณสุขของโลกในกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา สถิติจากการคาดประมาณการปี ๒๕๔๓  มีผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่เป็นจำนวน ๔๖๖,๔๐๐ ราย อยู่ในประเทศที่พัฒนา ๙๖,๐๐๐ ราย และในประเทศที่กำลังพัฒนา  ๓๗๐,๐๐๐ ราย หรือประมาณร้อยละ ๘๐ ของผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกทั้งหมด ทั่วโลกจะมีสตรีที่เสียชีวิตจากโรคมะเร็งปากมดลูก  ๒๓๑,๐๐๐ รายต่อปี และมากกว่าร้อยละ  ๘๐ จะอยู่ในประเทศที่กำลังพัฒนา เนื่องจากยังไม่มีโปรแกรมการตรวจคัดกรองที่มีประสิทธิผลดีพอในการตรวจหาโรคระยะก่อนเป็นมะเร็ง และให้การรักษาก่อนที่จะกลายเป็นมะเร็งระยะลุกลาม ( กรมการแพทย์,๒๕๔๕ ) ประเทศไทย พบผู้ป่วยรายใหม่ปีละประมาณ  ๕,๖๐๐ รายและเสียชีวิตประมาณ  ๓,๐๐๐  ราย ส่วนใหญ่ร้อยละ ๘๐ พบในสตรีอายุมากกว่า ๓๐  ปีขึ้นไป ซึ่งก่อให้เกิดความสูญเสียในด้านทรัพยากรมนุษย์ เศรษฐกิจ และสังคมเป็นอย่างยิ่ง ( กรมการแพทย์,๒๕๔๕ )

ดังนั้น การป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งปากมดลูก ในระยะเริ่มแรกและระยะก่อนเป็นมะเร็ง ซึ่งสามารถรักษาให้หายได้ เสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการรักษามะเร็งในระยะลุกลาม และการดำเนินงานให้ได้ผลดีในทางปฏิบัติจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการเฝ้าระวังโดยการตรวจคัดกรองด้วยวิธีค้นหาเซลล์ผิดปกติ ( Pap Smear ) บนปากมดลูก ซึ่งทำง่ายและรวดเร็ว ใช้เวลาเพียง ๒ – ๓ นาทีเท่านั้น ตลอดจนการให้ความรู้แก่อาสาสมัครสาธารณสุขในการเฝ้าระวังและจูงใจสตรีกลุ่มเป้าหมายมารับการตรวจแนะนำการรักษาที่ถูกวิธีเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อชุมชนสถานีอนามัยห้วยผักเน่า  จึงได้จัดทำ “ โครงการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งปากมดลูก ” ขึ้น  โดยให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานเฝ้าระวังและสตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับบริการสาธารณสุขอย่างทั่วถึง

 

วัตถุประสงค

  1. เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองโดยวิธี Pap smear และได้รับการรักษาตามระบบการส่งต่อทันทีเมื่อทราบผลการตรวจวินิจฉัย
  2. เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้  ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งปากมดลูก 
  3. เพื่อให้ชุมชนตระหนักและมีส่วนร่วมในการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งปากมดลูก 

เป้าหมาย

  1. สตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก  โดยวิธี  Pap smear  อย่างน้อยร้อยละ ๘๐
  2. ผู้ป่วยที่ทราบผลการตรวจวินิจฉัยและได้รับการรักษาตามระบบการส่งต่ออย่างครบวงจร ร้อยละ ๑๐๐

กลุ่มเป้าหมาย

                สตรีอายุ ๓๐- ๖๐ ปี ทุกรายที่อาศัยอยู่จริงในพื้นที่บริการของสถานีอนามัยฯ  จำนวน  ๓๒๕   ราย

พื้นที่ดำเนินการ

                โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วยผักเน่า ตำบลลาดค่าง  อำเภอภูเรือ  จังหวัดเลย

ระยะเวลาดำเนินการ

                เดือนเมษายน  ๒๕๕๔ – ธันวาคม ๒๕๕๔

สรุปผลการดำเนินโครงการ

-ร้อยละ ๑๐๐ ของสตรีกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการตรวจ Pap smear
-ร้อยละ  ๑๐๐ ของผู้ป่วยที่ได้รับการส่งต่อเพื่อตรวจวินิจฉัยและการรักษา

ภาพกิจกรรม

ประชุมกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข เพื่อชี้แจงโครงการฯและให้ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก

ประชุมกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข เพื่อชี้แจงโครงการฯและให้ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก

ดำเนินการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

ให้สุขศึกษาเกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก

ติดตามเยี่ยมบ้าน

 

  •  

    โทร 0-4289-9114 แฟกซ์ 0-4289-9429