Welcome ^_^
sample
sample

ปัจจุบันคนไทยสูบบุหรี่ประมาณ 10 ล้านคน เป็นชายอายุมากกว่า 15 ปีขึ้นไป 37.2% และหญิงไทย 2.2% มีนักสูบหน้าใหม่เกิดขึ้นราว 2-3 แสนคนต่อปี และข้อมูลของมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ระบุว่า คนไทยเสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ปีละ 52,000 คน เฉลี่ยวันละ 142 คน ชั่วโมงละ 6 คน

บุหรี่ไม่เพียงทำร้ายผู้สูบเท่านั้น แต่ครอบถึงผู้ใกล้ชิดด้วย โดยบุหรี่มีสารนิโคติน ทาร์ คาร์บอนมอนนอกไซด์ ไฮโดรเจนไซยาไนต์ ไนโตรเจนไดออกไซต์ แอมโมเนีย และกัมมันตภาพรังสี เป็นต้น บุหรี่ มีสารต่างๆ หลายชนิด แต่สารสำคัญที่ทำให้เกิดการเสพติดคือ นิโคติน เป็นสารแอลคะลอยด์ที่ไม่มีสี นิโคติน 30 มิลลิกรัมสามารถทำให้คนตายได้ บุหรี่ธรรมดามวนหนึ่งจะมีนิโคตินอยู่ราว 15-20 มิลลิกรัม ก็คือจำนวนนิโคตินในบุหรี่ 2 มวน สามารถทำให้คนตายได้ในทันที แต่การที่สูบบุหรี่ติดต่อกันหลายมวนแล้วไม่ตาย ก็เพราะว่ามีนิโคตินในควันบุหรี่ เป็นส่วนน้อยที่เข้าสู่ร่างกายของผู้สูบ สารเหล่านี้ทำให้เกิดโรค อาทิ มะเร็งปอด ความดันโลหิตสูง หัวใจขาดเลือด ถุงลมโป่งพอง เส้นโลหิตแดงแข็งตัวและตีบ หลอดลมอักเสบเรื้อรัง มะเร็งไต มะเร็งริมฝีปาก และมะเร็งหลอดลม

สารประกอบในบุหรี่

บุหรี่มีสารประกอบต่างๆ อยู่ประมาณ 4000 ชนิด มีสารก่อมะเร็งไม่ต่ำกว่า 42 ชนิด ซึ่งสารบางชนิดเป็นอันตรายที่สำคัญ คือ

1. นิโคติน ( Nicotine )

เป็นสารระเหยในควันบุหรี่ และเป็นสารที่รุนแรงมากที่สุดอย่างหนึ่ง ละลายน้ำได้ดี ไม่มีสี ถ้าสูบบุหรี่ 1 มวน ร่างกายจะได้รับนิโคตินในควันบุหรี่ 0.2 - 2 มิลลิกรัม หากมีอยู่ในร่างกายถึง 70 มิลลิกรัม จะทำให้ถึงแก่ความตายได้ มีผู้ทดลองนำนิโคตินบริสุทธิ์ เพียง 1 หยด ป้ายลงบนผิวหนังกระต่าย มีผลทำให้กระต่ายตัวนั้นช็อกอย่างรุนแรงและถึงแก่ความตาย แม้จะไม่ได้เข้าสู่ภายในร่างกายทางปากหรือทางลมหายใจ นิโคติน จะทำให้ไขมันในเส้นเลือดเพิ่มขึ้น กดประสาทส่วนกลาง มีผลต่อต่อมหมวกไต ทำให้เกิดการหลั่งอิพิเนฟริน เส้นเลือดหัวใจตีบและเกิดโรคหัวใจขาดเลือดหล่อเลี้ยง ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น หัวใจ เต้นเร็วกว่าปกติ และไม่เป็นจังหวะ หลอดเลือดที่แขนและขาหดตัว ทำลายเนื้อปอดและถุงลมปอด (ก้นกรองไม่ได้ทำให้ ปริมาณนิโคตินลดลงได้)

2. ทาร์ หรือน้ำมันดิน ( Tar )

เป็นคราบมันข้นเหนียว สีน้ำตาลแก่ เกิดจากการเผาไหม้ของกระดาษและใบยาสูบ ประมาณร้อยละ 90 จะขับออกมาพร้อมลมหายใจเพียงร้อยละ 10 เท่านั้น ในบุหรี่ 1 มวน มีทาร์ในปริมาณต่างกันตั้งแต่ 2.0 มิลลิกรัม จนถึง 3.0 มิลลิกรัม แล้วแต่ชนิดของบุหรี่ ขณะสูบบุหรี่ ร้อยละ 50 ของน้ำมันดิน จะไปจับที่ปอด เกิดระคายเคือง ทำให้ไอเรื้อรัง มีเสมหะ ทาร์จะตกค้างอยู่ในปอด หลอดลมใหญ่ และหลอดลมเล็ก จะทำลายถุงลมปอดทำให้เกิดโรคถุงลมโป่งพอง หอบเหนื่อยง่าย ไอเรื้อรัง และอาจทำให้เกิดโรคมะเร็งบริเวณเนื้อเยื่อที่สัมผัสกับสารนี้ เช่น มะเร็งปอด, กล่องเสียง, หลอดลม. หลอดอาหาร, ไต, กระเพาะปัสสาวะ และอื่นๆดังนั้น ทาร์ จึงเป็นตัวการทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด ซึ่งเป็นโรคที่ทรมานมากก่อนเสียชีวิต

3. คาร์บอนมอนอกไซด์

ทำให้เม็ดเลือดแดงไม่สามารถจับออกซิเจนได้เท่ากับเวลาปกติ เกิดการขาดออกซิเจนทำให้มึนงง ตัดสินใจช้า เหนื่อยง่ายซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของโรคหัวใจ

4. ไฮโดรเจนไซยาไนด์

ก๊าซพิษ ทำลายเยื่อบุผิวหลอดลมส่วนต้น ทำให้ไอเรื้อรัง มีเสมหะเป็นประจำโดยเฉพาะตอน เช้า

5. ไนโตรเจนไดออกไซด์

ก๊าซพิษทำลายเยื่อบุหลอดลมส่วนปลาย และถุงลม ทำให้ผนังถุงลมบางโป่งพอง ถุงลมเล็กๆ หลายอันแตก รวมกันเป็นถุงลมใหญ่ ทำให้เกิดโรคถุงลมโป่งพอง

6. แอมโมเนีย

มีฤทธิ์ระคายเคืองเนื้อเยื่อ ทำให้แสบตา แสบจมูก หลอดลมอักเสบ ไอมีเสมหะมาก

7. สารกัมมันตรังสี

ควันบุหรี่มีสารโพโลเนียม 210 ที่มีรังสีอัลฟาอยู่ เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งปอด

โทษของการสูบบุหรี่ มีดังนี้

1. เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
2. ฟันเหลือง ตาแดง เล็บเขียว
3. มีกลิ่นตัวและกลิ่นปากรุนแรง
4. เป็นที่น่ารังเกียจของสังคม
5. เสียเงินจำนวนมากโดยใช่เหตุ
6. ส่งผลร้ายต่อคนรอบข้าง
7. เป็นมะเร็งช่องปาก รวมถึงฟันและลิ้น (ปากเน่าเละเฟะ)
8. เป็นมะเร็งหลอดลมและหลอดอาหาร
9. เป็นมะเร็งกล่องเสียง
10. เป็นมะเร็งปอด (มะเร็ง ที่ทรมานมากที่สุด) มีโอกาสเป็นโรคมากกว่าผู้ที่ไม่สูบถึง 20 เท่า
11. ถุงลมโป่งพองจนไม่สามารถหดตัวกลับได้ มีผลทำให้หายใจติดขัด หอบ จนถึงตายได้
12. โรคกระเพาะอาหารเป็นแผล
13. โรงตับแข็ง เช่นเดียวกับการดื่มสุรา
14. โรคปริทนต์ (ฟันเน่าเละ)
15. โรคโพรงกระดูกอักเสบ
16. โรคความดันโลหิตสูง
17. ประสาทในการรับรสแย่ลง
18. มีอาการไอเรื้อรัง มีเสมหะมาก บางครั้งไอถี่มากจนไม่สามารถหลับนอนได้

บุหรี่ คือ ฆาตกรเงียบ ที่ทำร้ายชีวิตเราโดยไม่รู้ตัว

ควันบุหรี่มีผลต่อบุคคลข้างเคียง

เด็ก

ทำให้เด็กในครอบครัวป่วยด้วยโรคหลอดลมอักเสบ ปอดบวม หอบหืด หูชั้นนอกอักเสบเพิ่มมากขึ้น

หญิงมีครรภ์

น้ำหนักตัวขณะตั้งครรภ์เพิ่มน้อยกว่าปกติและมีโอกาสแท้ง คลอดก่อนกำหนด ตกเลือดระหว่างคลอด และหลังคลอดมากเป็น 2 เท่าของหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่สูบบุหรี่ นอกจากนั้นยังทำให้เกิดภาวะรกเกาะต่ำ และรกลอกตัว ก่อนกำหนดมากขึ้น ลูกที่คลอดจากแม่ที่สูบบุหรี่ อาจจะมีน้ำหนักและความยาวน้อยกว่าปกติ พัฒนาการทางด้าน สมองช้ากว่าปกติ อาจมีความผิดปกติทางระบบประสาท, ระบบความจำ

คู่สมรสของผู้สูบบุหรี่

มีโอกาสเป็นมะเร็งปอดมากกว่าคู่สมรสที่ไม่สูบบุหรี่ 2 เท่า มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจ 3 เท่า และเสียชีวิตเร็วกว่าปกติถึง 4 ปีคนทั่วไป ควันบุหรี่จะทำให้เกิดอาการเคืองตา ปวดศีรษะ คัดจมูก น้ำมูกไหล โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการหอบหืด โรคหัวใจ โรคหลอดลมอักเสบ ก็จะทำให้มีอาการของโรคเพิ่มมากขึ้น
sample

รวมลิงค์ที่น่าสนใจ

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

www.sasukphurua.com
โทร 0-4289-9114 แฟกซ์ 0-4289-9429