Welcome ^_^
sample

โครงการคู่หู คู่คิด ดูแลสุขภาพ

ตำบลปลาบ่า อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย

ที่มาของนวัตกรรม

ในปัจจุบันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ซึ่งอยู่ในกลุ่มโรคไม่ติดต่อ กำลังเป็นปัญหาทางด้านสุขภาพที่จำเป็นจะต้องได้รับการแก้ปัญหา เนื่องจากเมื่อเจ็บป่วยแล้วเป็นโรคเรื้อรังที่จะต้องได้รับการรักษาที่เสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลสูงถ้าเป็นในระยะเวลานานและไม่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพไม่มีการเฝ้าระวังที่ดี จะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน เช่น ไตวาย ต้อกระจก แผลเรื้อรัง บางรายถึงขั้นจะต้องตัดอวัยวะส่วนปลายออก ซึ่งเป็นภาระของญาติ และครอบครัวและรัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นในการดูแล จากการรณรงค์เฝ้าระวังโรค การให้ความรู้ การประเมินผลจากการตรวจภาวะน้ำตาลในเลือดและการวัดความดันโลหิต การประเมินตามแบบสอบถามด้วยวาจา ในกลุ่มประชากรอายุ ๑๕ ปีขึ้นไป ในหมู่บ้าน ปลาบ่า ,สองคอนและบ้านตาดสาน ทั้งหมด.๓๖๘...คน พบว่ามีจำนวนผู้ป่วยเบาหวานจำนวน ๕๖...คน คิดเป็นร้อยละ ๑๕.๒๒ ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง.คน กลุ่มเสี่ยงผู้รับการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด(ระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า๑๑๐) จำนวน.๕๖..คน กลุ่มเสี่ยงระดับความดันโลหิตสูง (ค่าความดันโลหิตฮีสโตรลิกมากกว่า ๑๔๐ และค่าไดแอสโตรลิกมากกว่า ๑๐๐ มิลลิเมตรปรอท) จำนวน๕๖..คนคิดเป็นร้อยละ ๑๕.๒๒

วัตถุประสงค์

๑. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถปฎิบัติตนในการดูแลตนเองอย่างถูกต้อง ไม่มีภาวะแทรกซ้อนสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างเป็นปกติสุข
๒. เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมควบคุมภาวะน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วย,และลดระดับความดันโลหิต
๓. เพื่อลดความรุนแรงของโรคและป้องกันมิให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วย

พื้นที่ดำเนินการ

ม.๑,๒,๕ ตำบลปลาบ่า อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย

วิธีดำเนินการ

๑. ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อสม. ผู้นำชุมชนเพื่อสร้างความเข้าใจตรงกันและร่วมหาแนวทางในการดำเนินงาน
๒. ค้นหากลุ่มเสี่ยง
๓. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ
๔. เลือกกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม
๕. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ วิทยากร สถานที่ ในการประชุมเชิงปฎิบัติการ
๖. ดำเนินการอบรมให้ความรู้และจับคู่บัดดี้ เพื่อจะได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน เป็นที่ปรึกษาให้แก่กัน คือผู้ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ คู่กับผู้ที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้,ผู้ที่คุมระดับความดันโลหิตได้ กับผู้ที่ควบคุมไม่ได้ เป็นต้น
๗. ติดตามเยี่ยมบ้านกลุ่มเป้าหมายเพื่อประเมินผลการอบรม

ระยะเวลาดำเนินการ

สิงหาคม ๒๕๕๕ – กันยายน ๒๕๕๕

ผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด จำนวน ๑๕๐ คน ดังนี้

๑. ผู้ป่วยเบาหวาน....๔๐......คน ม.๑ = ๒๕ คน ม. ๒ = ๗ คน ม. ๕ = ๘ คน
๒. ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง......๓๐......คน ม. ๑ = ๑๕ คน ม.๒ = ๘ คน ม. ๕ = ๗ คน
๓ .กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน.....๔๐.....คน ม. ๑ = ๑๕ คน ม.๒ = ๘ คน ม. ๕ = ๗ คน
๔.กลุ่มเสี่ยงโรค ความดันโลหิตสูง.....๔๐.....คน ม. ๑ = ๑๕ คน ม.๒ = ๘ คน ม. ๕ = ๗ คน

ผลการดำเนินงาน

๑. ผู้ป่วยเบาหวาน,ความดันโลหิตสูงสามารถปฏิบัติตนในการดูแลตนเองอย่างถูกต้องไม่มีภาวะแทรกซ้อน สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างปกติสุข
๒. กลุ่มเป้าหมายมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้เป็นอย่างดี
๓. ลดความรุนแรงของโรค ไม่มีกลุ่มผู้ป่วยเพิ่มขึ้น และไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วย

ปัญหาและอุปสรรค

๑. การร่วมทำกิจกรรมด้วยกันผู้ป่วยส่วนมากมีปัญหาในเรื่องการเดินทางต้องมีรถรับส่งถึงจะมาร่วมทำกิจกรรมได้
๒. ผู้ป่วยส่วนมากมีพฤติกรรมการรับประทานที่ตามใจปากมากกว่าควบคุมอาหาร

ข้อเสนอแนะ

๑.ในการจัดทำโครงการควรมีค่ายานพาหนะให้ผู้เข้าร่วมโครงการด้วย
๒. ผู้ดูแลผู้ป่วยควรได้รับความรู้ที่ถูกต้องในเรื่องพฤติกรรมการรับประทานอาหาร

ภาพกิจกรรม